(ตอนที่ 2) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Money 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข
ความเดิมตอนที่แล้ว : ตอนที่ 1 (ข้อสรุป 1–10)
สั่งซื้อได้ที่ SE-ED
11. เริ่มต้นเป้าหมายแรกของการออมด้วย “เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน” ควรมี 6–12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน
12. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ต้องเก็บในที่ที่มีสภาพคล่องสูง มูลค่าไม่ผันผวน เช่น เงินฝาก กองทุนตลาดเงิน สลากออมสิน/ธกส. เป็นต้น
13. หนี้สินแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หนี้จน กับ หนี้รวย
13.1 หนี้จน คือ หนี้ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม (กระแสเงินสดเป็นลบ) เช่น หนี้ที่เกิดจากการซื้อรถ
13.2 หนี้รวย คือ หนี้ที่สร้างรายได้เพิ่ม เช่น หนี้ที่เกิดจากการกู้ไปซื้ออสังหาแล้วปล่อยให้เช่าได้รายได้สูงกว่าดอกเบี้ย
14. สาเหตุของการเกิดหนี้ ได้แก่
14.1. ใช้จ่ายเกินตัว
14.2. อุปถัมภ์เกินกำลัง
14.3. การลงทุนที่ผิดพลาด
15. เวลาจะใช้เงินซื้อของที่มีราคาสูงต้องมีแผน ควรพิจารณา
15.1. ความจำเป็นในการซื้อและความเหมาะสม และ
15.2. สภาพคล่องหลังการซื้อหรือเป็นเจ้าของ
16. ความเสี่ยงทางการเงิน มี 3 รูปแบบ
16.1. ความเสี่ยงต่อบุคคล (ความสามารถในการหารายได้)
16.2. ความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน (ทรัพย์สินเสียหาย/ด้อยค่า)
16.3. ความเสี่ยงต่อกับรับผิด เช่น ค้ำประกันให้คนอื่น / รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
17. การรับมือกับความเสี่ยงมี 4 วิธี
17.1 หลีกเลี่ยงความเสี่ยง = หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดเหตุร้าย
17.2 ควบคุมความเสี่ยง = ลดโอกาสในการเกิดเหตุร้าย
17.3 โอนความเสี่ยง = ประกันชีวิต / ประกันภัย / ประกันสุขภาพ
17.4 รับความเสี่ยงไว้เอง = เตรียมทรัพย์สินให้พอรองรับความเสี่ยง
18. ทุนประกันชีวิตที่จำเป็น = (ภาระหนี้สิน + มรดก) — (ทรัพย์สินที่มี+ทุนประกันชีวิตที่มี)
19. ประกันชีวิตมีหลายแบบ ดังนี้
19.1 แบบตลอดชีพ — เหมาะสำหรับเตรียมเป็นมรดก คุ้มครองยาว เบี้ยประกันถูก
19.2 แบบสะสมทรัพย์ — เหมาะสำหรับการออม ระยะเวลาคุ้มครองไม่ยาวมาก เบี้ยประกันแพงเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง
19.3 แบบช่วงระยะเวลา — คุ้มครองระยะสั้น ไม่มีมูลค่าเงินสด ครบกำหนดไม่ได้เงินคืน แต่เบี้ยประกันถูกที่สุด
19.4 แบบประกันควบการลงทุน — มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย เป็นการเอาเงินประกันบางส่วนไปลงทุน สามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุน/คุ้มครองความเสี่ยงได้ มีความยืดหยุ่นกว่าแบบประกันอื่น ๆ
20. นอกจากประกันชีวิตก็มีประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ ควรพิจารณาเรื่องสิทธิและสวัสดิการที่เรามี กับค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของเราให้เหมาะสม