บันทึกสรุป: สิ่งที่ได้จากการเข้าอบรบ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทาง Outcome-Based Education (OBE) และ AUN-QA Criteria
Mind map
(วาดโดย coggle: https://coggle.it/diagram/X9Gh9od4rm8cci9V/t/outcome-based-education-obe/cf57edd338473017b11fd6eb232689499a5ffdd13e22db5a8480bb4dca362c6a)
1. ข้อมูลเกี่ยวกับการอบรม
Event: การอบรม Outcome-Based Education (OBE) สำหรับผู้รับผิดชอบหลักสูตร รุ่นที่ 1
วิทยากร: รศ.ดร.กัญคดา อนุวงศ์ และทีมวิทยากร ประกอบด้วย
- ผศ.ดร.วัยวุฑฒ์ อยู่ในศีล
- ผศ.เอกรินทร์ ชุลีกร
- ผศ.ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล
- ผศ.ดร.ธารทิพย์ บุญส่ง
- ดร.พฤฒินันท์ สุฤทธิ์
- ผศ.ดร.บุญเรือง คำศรี
วันที่ : 26–27 พฤศจิกายน 2563
สถานที่: ห้องประชุมเอกาทศรถ 301 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เอกสารประกอบการประชุม: ดาวน์โหลด
2. โครงสร้างของการอบรม
เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
- Outcome-Based Education (OBE): Learning Outcomes (LOs) and Constructive Alignment
- Writing Expected Learning Outcomes (ELOs)
- Curriculum Development and AUN-QA: From ELOs to Program Structure and Content and Curriculum Mapping (Backward Curriculum Design)
- Curriculum Development and AUN-QAL From ELOs to Teaching and Learning and Assessment
3. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม
3.1 ผลการเรียนรู้คาดหวังของการอบรม
- อธิบายหลักการ OBE และความสัมพันธ์ระหว่าง OBE กับเกณฑ์ AUN-QA
- ประยุกต์ใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร
2.1 การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
2.2 ออกแบบโครงสร้างและเนื้อหา ด้วยกระบวนการออกแบบหลักสูตรย้อนกลับ (Backward Curriculum Design: BCD)
2.3 แปลง PLOs สู่ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (Course Learning Outcomes: CLOs)
3. ประยุกต์ใช้การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Constructive Alignment) เข้าสู่วิธีการจัดการเรียนการสอน (Teaching and Learning Process) และการประเมินผู้เรียน (Student assessment)
3.2 Outcome-Based Education (OBE): Learning Outcomes (LOs) and Constructive Alignment
3.2.1 Outcome-Based Education (OBE)
- Key concept ของ OBE คือ Output define process หมายความว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นตัวกำหนดกระบวนการนำไปสู่ผลลัพธ์
- OBE คือหลักการจัดการศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนทุกคนจะสามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ได้สำเร็จเมื่อจบกระบวนการ
- สิ่งที่ต้องทำในการจัดการศึกษา คือ ออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) และออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
- ทำไมต้อง OBE : (1) ทุกคนสบายใจ (เห็นภาพร่วมกัน) (2) วัดผลได้ (3) มีความเป็นสากล ทำให้ตกลง common abilities กันได้ ตัวอย่างเช่น มคอ.1 หรือ เกณฑ์ ABET เป็นต้น (4) สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักเรียนทุกคนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ และ ต้องทำ Active learning
- ขั้นตอนการนำ OBE ไปใช้ มีหลักการสำคัญคือ Constructive Alignment ซึ่งมีขั้นตอนในการออกแบบดัง แสดงในรูปที่ 1 เริ่มจาก PLO แล้วออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับ PLOs จากนั้นออกแบบ CLOs ให้สอดคล้องกับ PLOs และในระดับรายวิชาก็ต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และ วิธีการประเมินให้สอดคล้องกับ CLOs
- LO ชัดเจน มี 2 อย่าง (1) สังเกตุได้จากการกระทำ/พฤติกรรม และ (2) ทุกคนรับรู้ร่วมกัน
- Tips: ควรกำหนด CLOs ให้เสร็จตั้งแต่ตอนเสนอหลักสูตร
- Tips: หลังจากหลักสูตรได้รับการอนุมัติแล้ว ห้ามเปลี่ยน PLOs/CLOs แต่เปลี่ยน Learning process ได้
- Tips: สิ่งที่เพิ่มมาในระบบ CHECO (ระบบรายงาน/รับรอง หลักสูตร ของ สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม: สป.อว.) คือ Yearly Learning Outcome ซึ่งเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมของแต่ละชั้นปีที่เรียนในหลักสูตร
- Tips: ไม่ต้องคิด Yearly Learning Outcome ขึ้นมาใหม่ ควรใช้การ Copy & Paste ในการทำ BCD
3.2.2 TQF
- ระบบเดิมที่ใช้อยู่ในตอนนี้ คือ TQF:HEd ย่อมาจาก Thailand Qualifications Framework for Higher Education หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) ดูเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่ http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
- หลักการสำคัญของ TQF: (1) เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ (2) เน้น LO 5 ด้าน เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ (3) เชื่อมโยงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องเดียวกัน (4) เป็นเครื่องมือสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) (5) มุ่งให้หลักสูตรเป็นที่ยอมรับ และ (6) ส่งเสริม Lifelong learning
- ความสัมพันธ์ระหว่าง TQF กับ OBE : เป็นดังรูปที่ 2
3.2.3 AUN-QA
- AUN-QA ย่อมาจาก ASEAN University Network — Quality Assurance เป็นเกณฑ์การประกันคุณภาพที่สร้างขึ้นโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ในที่นี้เราจะพูดถึงเฉพาะเกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.aun-qa.org/ และดาวน์โหลดคู่มือการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (version 3.0–2015) ได้ที่ http://www.aun-qa.org/views/front/pdf/publication/Guide%20to%20AUN-QA%20Assessment%20at%20Programme%20Level%20Version%203_2015.pdf
- AUN-QA Model แสดงในรูปที่ 3 เริ่มต้นตั้งแต่ด้านซ้ายสุด คือ Expected Learning Outcomes (ELOs) ซึ่งเชื่อมโยงกับ Stakeholders Needs และ Quality Assurance & Benchmarking จากนั้น ELOs จะนำไปสู่การออกแบบหลักสูตร (แถว 1 สีเทา) และเชื่อมโยงกับกระบวนการบริหารทรัพยากรในการดำเนินงานหลักสูตรทั้งบุคลากรและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (แถว 2 สีเขียว) เชื่อมโยงกับ กระบวนการพัฒนาคุณภาพ (แถว 3 สีส้ม) และเชื่อมโยงกับ ผลผลิต จากการดำเนินงานหลักสูตร (แถว 4 สีเทาเข้ม) ทั้งหมดนำไปสู่ความสำเร็จที่ตอบโจทย์ Stakeholders needs และกระบวนการ QA & Benchmarking
- AUN-QA version 3 มี 11 Criteria ตาม AUN-QA model ในรูปที่ 3 โดย ELOs เป็น Criteria 1 ส่วน แถว 1 สีเทา เป็น Criteria ที่ 2–5 และ แถว 2 สีเขียว เป็น Criteria ที่ 6–9 ส่วน Criteria ที่ 10 และ 11 คือ แถวที่ 3 และ แถวที่ 4 ตามลำดับ
- ความสัมพันธ์ระหว่าง TQF กับ AUN-QA แสดงในรูปที่ 4 ทั้งนี้ mapping ในรูปที่ 4 เป็น mapping ที่ผมวาดต่างจากวิทยากร
AUN-QA Criteria 1 (Expected Learning Outcomes) checklist
- (1.1) The expected learning outcomes have been clearly formulated and aligned with the vision and mission of the university
- (1.2) The expected learning outcomes cover both subject specific and generic (i.e. transferable) learning outcomes
- (1.3) The expected learning outcomes clearly reflect the requirements of the stakeholders
กระบวนการเริ่มจาก stakeholders’ need โดยพิจารณาว่า stakeholder มีใครบ้าง ตัวอย่างเช่น
- มหาวิทยาลัย
- คณะ
- ภาควิชา
- รัฐบาล / กระทรวง / หน่วยงานรับรองคุณภาพ
- นายจ้าง / สภาวิชาชีพ
- ผู้เรียน / ศิษย์เก่า
เมื่อแจกแจง stakeholders ได้แล้ว ต้องพิจารณาว่า มีใครบ้างที่มีนัยสำคัญต่อหลักสูตร (significant stakeholders) จากนั้นทำการสำรวจข้อมูลเพื่อนำไปใช้เป็น input ให้กับการกำหนด PLOs/ELOs เรียกกระบวนการนี้ว่า ELOs formulation
ตัวอย่าง input สำหรับ ELOs Formulation
- มาตรฐานสากล
- ความต้องการของนายจ้าง
- เสียงสะท้อนจากศิษย์เก่า
- 21st Century Skills
- TQF (5 Domain of LOs)
- มคอ.1 **
- ข้อกำหนดสภาวิชาชีพ **
- วัตถุประสงค์ เป้าหมายของหลักสูตร
- วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย / คณะ / ภาควิชา
- คุณลักษณะที่พึงประสงค์ / อัตลักษณ์นิสิต
- Life long learning skills
เมื่อรวบรวม input ทั้งหมดได้แล้ว ให้พิจารณาว่า สิ่งใดเป็น needs และสิ่งใดเป็น requirements จากตัวอย่างที่แสดงไว้ข้างบน มคอ.1 และ ข้อกำหนดสภาวิชาชีพ เป็น requirements เพราะจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ไม่เช่นนั้น หลักสูตรจะไม่ผ่านการรับรอง
Tips: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพหรือการปฏิบัติงาน อาจจะเป็น requirements ด้วยเช่นกัน
หลังจากที่กำหนด PLOs ได้แล้ว ควรทำ mapping กับ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Educational Objectives) /คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (Graduated Profiles) ดังตัวอย่างในรูปที่ 5
3.3 การเขียน Learning Outcome
ประเภทของ Learning Outcomes แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- Subject specific learning outcomes คือ LOs ที่มีเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ความรู้เกี่ยวกับการผลิตยา เป็นทักษะเฉพาะในหลักสูตรเภสัชฯ ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณโครงสร้างในการก่อสร้าง เป็นทักษะเฉพาะในหลักสูตรวิศวกรรมโยธา เป็นต้น
- Generic learning outcomes (Transferable skills) คือ LOs ที่ไม่ได้เกี่ยวกับวิชาชีพ ไม่ได้เจาะจงหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง เป็นทักษะพื้นฐานที่ทุกหลักสูตรมีได้ ตัวอย่างเช่น ทักษะการทำงานพื้นฐาน ได้แก่ ความสามารถในการคำนวณและการอ่านเขียน ทักษะการทำงานกับผู้อื่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะเกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น
นิยามของ Learning Outcomes คือ สิ่งที่ผู้เรียนจะ รู้ / เข้าใจ / ปฏิบัติ ได้ เมื่อจบกระบวนการเรียนรู้
ลักษณะการเรียนรู้ (Domain of Learning) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน
- พุทธิพิสัย (Cognitive domain) คือ ความรู้
- จิตพิสัย (Affective domain) คือ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม
- ทักษะพิสัย (Psychomotor domain) คือ ทักษะการเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติ
ระดับของการเรียนรู้
- Cognitive domain นิยมใช้ Bloom’s taxonomy ซึ่งแบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ 1. จำได้ (Remembering) 2. เข้าใจ (Understanding) 3. ใช้เป็น (Applying) 4. วิเคราะห์ได้ (Analyzing) 5. ประเมินได้ (Evaluating) 6. สร้างสรรค์ได้ (Creating)
- Affective domain ยังใช้ Bloom’s taxonomy อยู่ แบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ 1. รับรู้ (Receiving) 2. ตอบสนอง (Responding) 3. เห็นคุณค่า (Valuing) 4. จัดรวบรวม (Organization) 5. สร้างคุณลักษณะ (Characterization)
- Psychomotor domain วิทยากรแนะนำ Dave’s taxonomy มี 5 ระดับได้แก่ 1.เลียนแบบได้ (Imitation) 2. ทำตามคำบอกหรือคู่มือได้ (Manipulation) 3. ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ (Precision) 4. ผสมทักษะหลายอย่างเข้าด้วยกัน ทำต่อเนื่องกันตามลำดับได้ (Articulation) 5. ทำอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยความชำนาญ(Naturalization)
Tips: เมื่อคิด LOs ให้คิดวิธีการวัดไปพร้อม ๆ กันเลย
Tips: Affective domain ควรพิจารณาจากจรรยาบรรณวิชาชีพ
Tips: Psychomotor ต้องเกิดจากการฝึกปฏิบัติ ลงมือทำ
Tips: สามารถดูตัวอย่าง LOs ของสาขาวิชาต่าง ๆ ได้ที่ https://www.qaa.ac.uk/quality-code/subject-benchmark-statements
แนวทางการเขียน LOs
- Upon completion of the program, the student will be able to: Action Verb (Bloom’s Taxonomy) + Object (s) of the verb + Modification (Context)
- ตัวอย่างเช่น Recognize and formulate + problems + that are amenable to energy management solutions
- พยายามใช้ 1 action verb ต่อ 1 learning outcome
- ใช้แนวทาง SMART ในการเขียน LOs => Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Timely
Tips: ผลการเรียนรู้ของระดับ ป.ตรี/ป.โท/ป.เอก ต่างกันอย่างไร มีนิยามใน NQF 2017 (กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ)
Tips: ความแตกต่างระหว่าง Program Objectives กับ Learning Outcomes คือ POs เป็นมุมมองของผู้สอน เช่น จะผลิตบัณฑิตแบบไหน แต่ LOs เป็นมุมมองของผู้เรียน เช่น เมื่อเรียนจบจะทำอะไรได้
Tips: การเขียน ELOs ไม่ใช่การเขียนว่าได้ผลลัพธ์อะไร แต่ให้เขียนว่าทำอะไรได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์นั้น เช่น ประกอบอาชีพ… ได้ ควรเขียนว่า มีทักษะ … เพื่อการประกอบอาชีพ หรือ ขอทุนได้ ควรเขียนว่า เขียนโครงการได้
Workshop: Formulation of PLOs
ฝึกปฏิบัติการเขียน PLOs โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
- เขียน stakeholders ทั้งหมด ระบุ Needs/Requirements ที่ได้รับจาก stakeholders
- รวบรวมและจัดกลุ่ม Needs/Requirements จากนั้นเขียนเป็น PLOs
- จัดกลุ่ม PLOs เป็น subject-specific outcomes หรือ generic outcomes
- ระบุระดับการเรียนรู้ใน taxonomy สำหรับแต่ละ PLOs
- เชื่อมโยง PLOs เข้ากับ Needs/Requirements
3.4 การพัฒนาหลักสูตรและเกณฑ์ AUN-QA ด้วยหลักการ BCD
AUN-QA Criteria 3 (Program Structure and Content) checklist
- (3.1) The curriculum is designed based on constructive alignment with the expected learning outcomes
- (3.2) The contribution made by each course to achieve the expected learning outcomes is clear
- (3.3) The curriculum is logically structured, sequenced, integrated and up-to-date
ก่อนเริ่มกระบวนการ BCD ให้ตรวจสอบประเด็นดังนี้
- PLOs ตอบความต้องการของ stakeholders แล้วหรือยัง
- SMART PLOs ไหม
- ระดับของการเรียนรู้ (taxonomy) ได้ถูกระบุอย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง
- PLOs มีทั้ง subject specific และ generic outcome แล้วหรือยัง
- PLOs สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไหม
- หลักสูตรมีจุดเด่น (competitive advantage) แล้วหรือยัง
Tips: หลักสูตรที่มีวิชาเอก (major) ให้มี ELOs แยกตาม major ได้
Tips: การเขียน ELOs ให้เรียงลำดับตาม Learning level
การทำ Backward Curriculum Design (BCD)
- แจกแจง knowledge, skills (generic / subject specific) , attitude จากแต่ละ PLOs
- ออกแบบรายวิชา (course) จาก KSA (Knowledge, Skills, Attitude) ที่ได้แจกแจงไว้
- ทำ Curriculum mapping
ข้อดีของการทำ Curriculum mapping
- สามารถเห็นโครงสร้างของหลักสูตร
- แสดงให้เห็นความสอดคล้องในหลักสูตรระหว่างรายวิชากับคุณลักษณะบัณฑิต และ อื่น ๆ
- ระบุได้ว่า แต่ละ outcome จะได้มาจากส่วนไหนและอย่างไร
- มองเห็นเหตุผลของวิชา pre-requisites
Tips: การตรวจสอบ mapping — PLOs ทุกข้อต้องถูกรับผิดชอบโดยวิชาบังคับ
Tips: จำนวน CLOs ควรจะมากกว่าหรือเท่ากับจำนวน ELOs
Tips: สมรรถนะ (Competency) เป็นคำรวมของ KSA (มีความหมายกว้างกว่า)
3.5 การพัฒนาหลักสูตรและเกณฑ์ AUN-QA จาก ELOs ไปสู่ วิธีการจัดการเรียนรู้ และ การประเมิน
จาก PLOs ใน Curriculum mapping นำมาสู่ CLOs จากแต่ละ CLO นำมากำหนด Content , Teaching and Learning activities และ Assessment method
หัวใจสำคัญ คือ Constructive Alignment
AUN-QA Criteria 4 (Teaching and Learning Approach) checklist
- (4.1) The educational philosophy is well articulated and communicated to all stakeholders
- (4.2) Teaching and learning activities are constructively aligned to the achievement of the expected learning outcomes
- (4.3) Teaching and learning activities enhance life-long learning
AUN-QA Criteria 5 (Student Assessment) checklist
- (5.1) The student assessment is constructively aligned to the achievement of the expected learning outcomes
- (5.2) The student assessment including timelines, methods, regulations, weight distribution, rubrics and grading are explicit and communicated to students
- (5.3) Method including assessment rubrics and marking schemes are used to ensure validity, reliability and fairness of student assessment
- (5.4) Feedback of student assessment is timely and helps to improve learning
- (5.5) Students have ready access to appeal procedure
เมื่อทำกระบวนการ BCD จนถึงระดับรายวิชา จำนวน outcomes จะมีจำนวนเป็นลักษณะฐานปิระมิด จากยอดบนสุดไล่ระดับลงไปดังนี้ University mission < School/College mission < Program mission < Program goals < Program outcomes < Course outcomes < Course Unit Instructional outcomes
ภาคผนวก
นิยามคำศัพท์
- OBE = Outcome-Based Education คือ แนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ได้เมื่อจบการเรียน
- LO = Learning Outcome คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งสามารถวัดความสำเร็จได้
- PLO = Program Learning Outcome คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- ELO = Expected Learning Outcome เหมือน PLO แต่เป็นคำที่ AUN-QA ใช้
- ILO = Intended Learning Outcome เหมือน PLO แต่เป็นคำที่ระบบทางยุโรปใช้
- TQF = Thailand Qualifications Framework for Higher Education คือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- AUN-QA ย่อมาจาก ASEAN University Network — Quality Assurance เป็นเกณฑ์การประกันคุณภาพที่สร้างขึ้นโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
Link ที่ควรไปศึกษาเพิ่มเติม
- Kennedy D., Hyl A., Ryan N. Writing and using learning outcomes: A practical guide (2007), http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1.461.8988